ทำอย่างไร? ขอสินเชื่อให้ผ่านง่าย ๆ

แม้ว่าการเป็นหนี้จะไม่ใช่สถานะที่หลายคนอยากจะเป็นนัก แต่บางครั้งความจำเป็นก็ทำให้เราต้องเป็นหนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะต้องการเริ่มต้นธุรกิจ มีรายได้ที่ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ไม่สามารถหมุนเงินได้ทัน ต้องการได้สิ่งของที่มีมูลค่ามากมาใช้ล่วงหน้า เป็นหนี้จากค่ารักษาพยาบาล หนี้การพนัน หรือหนี้จากการค้ำประกันให้คนอื่น ฯลฯ


ไม่ใช่ว่าเมื่อถึงเวลาที่ต้องการใช้เงินจำเป็นต้องกู้เงินขอสินเชื่อจากธนาคาร แล้วธนาคารจะให้เรากู้ได้อย่างที่ใจเราคิด เพราะการกู้เงินนั้นก็ต้องมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ กำหนดไว้ว่าจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้ารายนั้น ๆ ด้วย


มีคนไม่น้อยที่ยื่นใบสมัครสินเชื่อพร้อมหลักฐานแล้วไม่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน และเรื่องสำคัญที่ถือเป็นความเสี่ยงเมื่อไม่ได้รับอนุมัติเงินกู้ก็คือ ธนาคารจะไม่พิจารณาเงินกู้ของเราไปนานอีก 6 เดือนเลยทีเดียว ดังนั้นการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนกู้เงิน ทั้งศึกษาหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกู้ของแต่ละธนาคารให้ดี และเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้พร้อม เป็นการเพิ่มโอกาสในการที่ธนาคารจะอนุมัติเงินกู้ให้กับเราได้มากทีเดียว

 

สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาการปล่อยสินเชื่อของธนาคารและสถาบันการเงินที่ผู้กู้ควรรู้ก่อน มีดังนี้

     สถานะของบัญชีธนาคาร หลักเกณฑ์สำคัญอันดับแรกที่ธนาคารจะพิจารณาปล่อยกู้ให้หรือไม่ก็คือเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ ซึ่งก็คือดูจากรายได้นั่นเอง เอกสารที่ธนาคารจะพิจารณาเรื่องรายได้ก็คือบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่สามารถเห็นได้ทั้งจำนวนเงินรายได้และความสม่ำเสมอของรายได้ที่เข้ามา บัญชีธนาคารที่มีเงินหมุนเวียนเข้าออกเป็นสิ่งที่แสดงถึงศักยภาพในการหารายได้ของผู้กู้ได้ดีที่สุด
 

     ความน่าเชื่อถือของผู้กู้ ธนาคารจะดูว่าผู้กู้มีความน่าเชื่อถือหรือไม่จากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น รายได้ อาชีพ และสถานภาพ ถ้าเป็นเจ้าของกิจการก็จะดูจากอุปนิสัย ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจที่ผ่านมา ความซื่อสัตย์และตั้งใจจริงที่จะดำเนินธุรกิจ รวมไปถึงเรื่องนโยบายและประวัติในการชำระหนี้ด้วย


     ติดแบล็กลิสต์หรือไม่ ประวัติในการชำระหนี้ที่ผ่านมาของผู้กู้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ธนาคารจะพิจารณาว่าจะอนุมัติเงินกู้ให้หรือไม่ ถ้ามีประวัติติดแบล็กลิสต์หรือมีประวัติค้างชำระหนี้ ธนาคารก็อาจปฏิเสธเงินกู้ของเราด้วยเหตุผลนี้ได้ทันที


     อายุและประวัติการทำงาน ธนาคารจะกำหนดเกณฑ์อายุในการสมัครสินเชื่อไว้อย่างชัดเจน เช่น ผู้กู้ต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และต้องมีอายุไม่เกินกว่า 60 ปีเมื่อรวมระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้แล้ว ประวัติการทำงานก็สำคัญ เพราะธนาคารมักดูว่าอาชีพที่ผู้กู้ทำอยู่นั้นเป็นหลักแหล่งและมั่นคงหรือไม่ ดังนั้นก่อนทำการกู้ ผู้กู้ควรพิจารณาด้วยตัวเองก่อนว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนดไว้หรือไม่


แน่นอนว่าผู้ขอสินเชื่อหรือผู้กู้ทุกคนก็ย่อมอยากให้ธนาคารอนุมัติเงินกู้ให้ทั้งนั้น สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่เราจะสร้างเครดิตการเงินที่ดีได้อย่างไร เพื่อขอสินเชื่อให้ผ่านฉลุย เรามีคำแนะนำ ดังนี้ค่ะ
 

     บัญชีมีหลักฐานมายาวนาน บัญชีเงินฝากธนาคารที่แสดงถึงรายได้เป็นสิ่งสำคัญที่ธนาคารจะพิจารณา ยิ่งมีเงินรายได้เข้าสม่ำเสมอและยาวนานก็ยิ่งมีโอกาสได้รับอนุมัติมากขึ้น พนักงานประจำหรือผู้ที่รับรายได้ผ่านบัญชีเงินเดือนมักไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้ แต่ถ้ามีรายได้เป็นเงินสดหรือเป็นเจ้าของกิจการ ควรต้องนำเงินรายได้เข้าบัญชีเป็นประจำก่อนเบิกถอนออกไปใช้จ่าย เพื่อให้มีหลักฐานเป็นบัญชีหมุนเวียนแสดงรายได้เมื่อต้องการกู้นั่นเอง


     ทำงานมั่นคงไม่เปลี่ยนงานบ่อย หลายธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้กู้ที่มีอายุงานน้อยกว่า 6 เดือน เพราะมองว่าอาชีพและรายได้ยังไม่มั่นคงเพียงพอ คนที่ชอบเปลี่ยนงานบ่อย ๆ อาจไม่รู้ว่าวันหนึ่งเมื่อถึงเวลาที่เราต้องกู้เงิน ประวัติการทำงานของเรานี่แหละที่ธนาคารจะใช้ในการพิจารณาด้วย และเราอาจไม่ได้รับอนุมัติเงินกู้เพราะเปลี่ยนงานบ่อย


     มีประวัติผ่อนบ้าง คนที่ไม่เคยเป็นหนี้เลย ธนาคารก็ไม่มีประวัติการชำระหนี้ให้ตรวจสอบ ทำให้อาจเกิดความลังเลในการปล่อยสินเชื่อให้ได้ แต่หากผู้กู้มีประวัติในการใช้บัตรเครดิต ใช้บัตรผ่อนสินค้า หรือผ่อนรถยนต์อยู่ และมีประวัติในการชำระหนี้ที่ดีมาตลอด โอกาสที่ธนาคารจะอนุมัติเงินกู้ให้ก็ย่อมมากขึ้นตามไปด้วย


     ไม่มีหนี้ก้อนใหญ่ ภาระหนี้เป็นอีกเรื่องที่ธนาคารจะต้องดู หากเรามีหนี้ก้อนใหญ่ เช่น หนี้บ้านที่ต้องจ่ายทุกเดือน ธนาคารอาจปฏิเสธคำขอสินเชื่อเพราะกังวลถึงความสามารถในชำระหนี้ที่มีมากในอนาคตได้ ดังนั้นถ้าอยากได้รับอนุมัติสินเชื่อก็ต้องแน่ใจว่าเราไม่มีหนี้ก้อนใหญ่ที่เป็นภาระอยู่ด้วย

     หมั่นเช็คเครดิตตัวเอง ผู้กู้ควรหมั่นเช็คเครดิตของตัวเองอยู่เสมอ หากต้องการให้ธนาคารอนุมัติเงินกู้ต้องมั่นใจว่าไม่มีประวัติค้างชำระหนี้ในช่วง 6 เดือนล่าสุดก่อนทำการกู้

ถ้าเรายังกังวลว่าจะไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อนำเงินมาใช้ตามความจำเป็นได้ กลัวว่าธนาคารจะไม่อนุมัติแล้วต้องรอนานอีก 6 เดือนกว่าจะยื่นเรื่องได้ใหม่  งั้นลองมาเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการสร้างเครดิตให้ดีก่อนการกู้เงิน เช่น ชำระค่าบัตรเครดิต/ หนี้ ให้ตรงเวลา , ควบคุมสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ประจำ  แต่บางคนเลือกจ่ายขั้นต่ำของบัตรเครดิตเพื่อรักษาประวัติ อาจจะพบปัญหาดอกเบี้ยแพงถึงร้อยละ 18% ขึ้นไป


บทความที่เกี่ยวข้อง
โรงงาน 4.0 Smart Factory คืออะไร?
เราเคยได้ยินคำว่าไทยแลนด์ 4.0 กันมาตลอดทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต แต่คุณรู้ไหมว่าระบบโรงงานเองก็มีคำว่า “โรงงาน 4.0” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน แต่โรงงาน 4.0 หรือ Smart Factory คืออะไร? ประเทศไทยของเราก้าวไปถึงยุค 4.0 ในวงการอุตสาหกรรมหรือยัง วันนี้เราจะมาติดตามไปพร้อมกันค่ะ
เริ่มต้นธุรกิจค้าส่ง ทำอย่างไร? มือใหม่ต้องรู้!
หากเอ่ยถึง “ยี่ปั๊ว” หลายคนนึกภาพถึงร้านค้าดั้งเดิมที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางกระจายสินค้าจากผู้ผลิต ไปสู่ร้านค้าปลีก หรือโชห่วย ซึ่งจะเห็นผู้ประกอบการรูปแบบนี้ได้มากในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยระบบการค้าดังกล่าว จัดเป็นการค้าส่ง (Wholesaling) ซึ่งจะเป็นลักษณะของการขายต่อ หรือเพื่อใช้ในทางธุรกิจ ไม่ได้เป็นการขายสินค้าในปริมาณมากๆ โดยตรงให้กับผู้บริโภคคนสุดท้าย
วิกฤติการเงินสู่ปัญหาทางธุรกิจ
1. ใช้จ่ายอะไร จดไว้ให้หมด ในช่วงที่รายรับเท่าเดิม แต่รายจ่ายมากขึ้นเช่นนี้ จำเป็นต้องรัดกุมกับเงินทุกบาท ทุกสตางค์ ค่าใช้จ่ายที่มีในแต่ละเดือน ต้องใช้อะไร ซื้ออะไรควรจดไว้ เพื่อเตือนความจำและการใช้เงินอย่างมีสตินั่นเองค่ะ 2. ช่างสังเกต เปรียบเทียบสินค้า เช็กราคาเซลอยู่เสมอ เช่น การเปรียบเทียบสินค้า 1 สิ่ง ระหว่างซื้อเองที่ร้าน หรือ สั่งซื้อทางออนไลน์ แบบไหนคุ้มค่ากว่า โดยคำนวณจาก ค่าเดินทาง ค่าจัดส่ง แล้วเปรียบเทียบดูนั่นเองค่ะ 3. Second Job เพิ่มรายได้ หากรายได้ทางเดียวไม่เพียงพอ การหารายได้เสริมเพื่อเพิ่มรายรับ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการแก้วิกฤติทางการเงินได้เช่นค่ะ แต่จะต้องทำไม่ให้กระทบกับงานหลักด้วยนะคะ 4. ค้นหาช่องทางการลงทุนใหม่ ๆ เช่น หุ้น กองทุนใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ที่พอจะมีแนวโน้มในการเติบโตในอนาคต ถือเป็นการกระจายความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนกลับมาได้ด้วยค่ะ 5. ลดรายจ่ายไม่จำเป็น ทั้งค่าเสื้อผ้า ค่ากาแฟ ค่าความบันเทิง ที่เกินกว่ารายรับ และเกินความจำเป็น ควรลดลงมาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แก้ปัญหาวิกฤติเดือนชนเดือน การเอาตัวรอดวิกฤติทางการเงินแม้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าหากมีวินัย และทำอย่างสม่ำเสมอ ท่านก็จะรอดพ้นวิกฤติได้ไม่ยากค่ะ
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy